About

วันจันทร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2559

บทที่ 7 ผลกระทบจากสารเสพติด

 สารเสพติด

ความหมายของยาเสพติด
           ยาเสพติด หมายถึง สารใดก็ตามที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ หรือสารที่สังเคราะห์ขึ้น เมี่อนำเข้าสู่ร่างกาย ไม่ว่าจะโดยวิธีรับประทาน ดม สูบ ฉีด หรือด้วยวิธีการใด ๆ แล้ว ทำให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจนอกจากนี้ยังจะทำให้เกิดการเสพติดได้ หากใช้สารนั้นเป็นประจำทุกวัน หรือวันละหลาย ๆ ครั้ง
          ลักษณะสำคัญของสารเสพติด จะทำให้เกิดอาการ และอาการแสดงต่อผู้เสพดังนี้
          ๑. เกิดอาการดื้อยา หรือต้านยา และเมื่อติดแล้ว ต้องการใช้สารนั้นในประมาณมากขึ้น
          ๒. เกิดอาการขาดยา ถอนยา หรืออยากยา เมื่อใช้สารนั้นเท่าเดิม ลดลง หรือหยุดใช้
          ๓. มีความต้องการเสพทั้งทางร่างกายและจิตใจ อย่างรุนแรงตลอดเวลา
          ๔. สุขภาพร่างกายทรุดโทรมลง เกิดโทษต่อตนเอง ครอบครัว ผู้อื่น ตลอดจนสังคม และประเทศชาติ
ความหมายตามกฎหมาย
          ยาเสพติดให้โทษ หมายความว่า สารเคมี หรือวัตถุชนิดใดๆ ซึ่งเมื่อเสพเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าจะโดยรับประทาน ดม สูบ ฉีด หรือด้วยประการใดๆ แล้ว ทำให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจในลักษณะสำคัญเช่น ต้องเพิ่มขนาดการเสพเรื่อยๆ มีอาการถอนยา เมื่อขาดยามีความต้องการเสพทั้งทางร่างกายและจิตอย่างรุนแรงอยู่ตลอดเวลาและสุขภาพโดยทั่วไปจะทรุดโทรมลง กลับให้รวมถึงพืช หรือ ส่วนของพืชที่เป็น หรือให้ผลผลิตเป็นยาเสพติดให้โทษ หรืออาจใช้ผลิตเป็นยาเสพติดให้โทษและสารเคมี ที่ใช้ใน
การผลิตยาเสพติดให้โทษดังกล่าวด้วย ทั้งนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศในราชกิจจานุเบกษา แต่ไม่หมายความถึง ยาสำคัญประจำบ้านบางตำรับตามที่กฎหมายว่าด้วยยาที่มี ยาเสพติดให้โทษผสม อย
          สารเสพติด  หมายถึงสิ่งที่เสพเข้าไปในร่างกายแล้วทำให้ร่างกายต้องการสารนั้นในปริมาณที่เพิ่มขึ้นไม่สามารถหยุดได้  มีผลทำให้ร่างกายทรุดโทรมและสภาวะจิตใจผิดปกติ
ยาเสพติด หมายถึง สารหรือยาที่อาจเป็นผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ หรือจากการสังเคราะห์ ซึ่งเมื่อเสพเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าจะโดย การกิน ดม สูบ ฉีด หรือ ด้วยประการใด ๆ แล้วจะทำให้เกิดผล ต่อร่างกายและจิตใจในลักษณะสำคัญ เช่น
          - ต้องเพิ่มขนาดการเสพขึ้นเรื่อยๆ
          - มีอาการอยากยาเมื่อขาดยา
          - มีความต้องการเสพทั้งร่างกายและจิตใจอย่างรุนแรงและต่อเนื่อง
          - สุขภาพโดยทั่วไปจะทรุดโทรมลง
ประเภทของยาเสพติด
          ยาเสพติด แบ่งได้หลายรูปแบบ ตามลักษณะต่าง ๆ ดังนี้
          1. แบ่งตามแหล่งที่เกิด ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
               1.1 ยาเสพติดธรรมชาติ (Natural Drugs) คือยาเสพติดที่ผลิตมาจากพืช เช่น ฝิ่น กระท่อม กัญชา เป็นต้น  ฝิ่น  กระท่อม
          1.2 ยาเสพติดสังเคราะห์ (Synthetic Drugs) คือยาเสพติดที่ผลิตขึ้นด้วยกรรมวิธีทางเคมี เช่น เฮโรอีน แอมเฟตามีน เป็นต้น
เฮโรอีน ยาบ้า
          2. แบ่งตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 5 ประเภท คือ
          2.1 ยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ 1 ได้แก่ เฮโรอีน แอลเอสดี แอมเฟตามีน หรือยาบ้า ยาอีหรือยาเลิฟ
          2.2 ยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ 2 ยาเสพติดประเภทนี้สามารถนำมาใช้เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ได้ แต่ต้องใช้ภายใต้การควบคุมของแพทย์ และใช้เฉพาะกรณีที่จำเป็นเท่านั้น ได้แก่ ฝิ่น มอร์ฟีน โคเคน หรือโคคาอีน โคเคอีน และเมทาโดน
          2.3 ยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ 3 ยาเสพติดประเภทนี้เป็นยาเสพติดให้โทษที่มียาเสพติดประเภทที่ 2ผสมอยู่ด้วย มีประโยชน์ทางการแพทย์ การนำไปใช้เพื่อจุดประสงค์อื่น หรือเพื่อเสพติด จะมีบทลงโทษกำกับไว้ ยาเสพติดประเภทนี้ ได้แก่ ยาแก้ไอ ที่มีตัวยาโคเคอีน ยาแก้ท้องเสีย ที่มีฝิ่นผสมอยู่ด้วย ยาฉีดระงับปวดต่าง ๆ เช่น มอร์ฟีน เพทิดีน ซึ่งสกัดมาจากฝิ่น
          2.4  ยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ 4 คือสารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ 1 หรือประเภทที่ 2 ยาเสพติดประเภทนี้ไม่มีการนำมาใช้ประโยชน์ในการบำบัดโรคแต่อย่างใด และมีบทลงโทษกำกับไว้ด้วย ได้แก่น้ำยาอะเซติคแอนไฮไดรย์ และ อะเซติลคลอไรด์ ซึ่งใช้ในการเปลี่ยนมอร์ฟีนเป็นเฮโรอีน สารคลอซูไดอีเฟครีน สามารถใช้ในการผลิตยาบ้าได้ และวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทอีก 12 ชนิด ที่สามารถนำมาผลิตยาอีและยาบ้าได้
          2.5 ยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 5 เป็นยาเสพติดให้โทษที่มิได้เข้าข่ายอยู่ในยาเสพติดประเภทที่ 1 ถึง 4ได้แก่ ทุกส่วนของพืชกัญชา ทุกส่วนของพืชกระท่อม เห็ดขี้ควาย เป็นต้น
 
 มอร์ฟีน  ยาอี กัญชา
          3. แบ่งตามการออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ
          3.1 ยาเสพติดประเภทกดประสาท ได้แก่ ฝิ่น มอร์ฟีน เฮโรอีน สารระเหย และยากล่อมประสาท
          3.2 ยาเสพติดประเภทกระตุ้นประสาท ได้แก่ แอมเฟตามีน กระท่อม และ โคคาอีน
          3.3 ยาเสพติดประเภทหลอนประสาท ได้แก่ แอลเอสดี ดีเอ็มพี และ เห็ดขี้ควาย
          3.4 ยาเสพติดประเภทออกฤทธิ์ผสมผสาน กล่าวคือ อาจกดกระตุ้น หรือ หลอนประสาทได้พร้อม ๆ กัน ตัวอย่างเช่น กัญชา   สารระเหย    โคเคน     เห็ดขี้ควาย
          4. แบ่งตามองค์การอนามัยโลก ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 9 ประเภท คือ
          4.1 ประเภทฝิ่น หรือ มอร์ฟีน รวมทั้งยาที่มีฤทธิ์คล้ายมอร์ฟีน ได้แก่ ฝิ่น มอร์ฟีน เฮโรอีน เพทิดีน
          4.2 ประเภทยาปิทูเรท รวมทั้งยาที่มีฤทธิ์ทำนองเดียวกัน ได้แก่ เซโคบาร์ปิตาล อะโมบาร์ปิตาล พาราลดีไฮด์ เมโปรบาเมท ไดอาซีแพม เป็นต้น
          4.3 ประเภทแอลกอฮอล ได้แก่ เหล้า เบียร์ วิสกี้
          4.4 ประเภทแอมเฟตามีน ได้แก่ แอมเฟตามีน เมทแอมเฟตามีน
          4.5 ประเภทโคเคน ได้แก่ โคเคน ใบโคคา
          4.6 ประเภทกัญชา ได้แก่ ใบกัญชา ยางกัญชา
          4.7 ประเภทใบกระท่อม
          4.8 ประเภทหลอนประสาท ได้แก่ แอลเอสดี ดีเอ็นที เมสตาลีน เมลัดมอนิ่งกลอรี่ ต้นลำโพง เห็ดเมาบางชนิด
          4.9 ประเภทอื่น ๆ นอกเหนือจาก 8 ประเภทข้างต้น ได้แก่ สารระเหยต่าง ๆ เช่น ทินเนอร์ เบนซิน น้ำยาล้างเล็บ ยาแก้ปวด และบุหรี่
พฤติกรรมของผู้ติดสิ่งเสพติด 
            1.  ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม  ชอบแยกตัวเอง
            2.  แต่งกายไม่เรียบร้อย  สกปรก
            3.  สีหน้าแสดงความวิตก  ซึมเศร้า  ไม่กล้าที่จะสู้หน้าคน
            4.  เมื่อขาดยา  มีอาการกระวนกระวาย  หายใจลึก  กล้ามเนื้อกระตุก  ทุรนทุราย คลุ้มคลั่ง
การป้องกันการเสพยาเสพติด 
            1.  เลือกคบเพื่อนที่ดี  หลีกเลี่ยงการคบเพื่อนที่ติดสิ่งเสพติด
            2.  ไม่ทดลอง  สิ่งเสพติดทุกชนิด
            3.  เล่นกีฬา  ออกกำลังกาย  หากิจกรรมนันทนาการเล่นเมื่อมีเวลาว่าง
            4.  สถาบันการศึกษาควรให้การอบรมเกี่ยวกับโทษของยาเสพติด
            5.  ควรมีความอบอุ่นแก่ครอบครัว  ดูแลสมาชิกในครอบครัว  อย่างใกล้ชิด
โทษของยาเสพติด
โทษเนื่องจากการเสพสิ่งเสพติดแบ่งออกได้ ดังนี้
1.  โทษต่อร่างกาย  สิ่งเสพติดทำลายทั้งร่างกายและจิตใจ  เช่น  ทำให้สมองถูกทำลาย  ความจำเสื่อม  ดวงตาพร่ามั่ว  น้ำหนักลด  ร่างกายซูบผอม  ตาแห้ง  เหม่อลอย ริมฝีปากเขียวคล้ำ  เครียด  เป็นต้น
2.  โทษต่อผู้ใกล้ชิด  ทำลายความหวังของพ่อแม่และทุกคนในครอบครัว  ทำให้วงศ์ตระกูลเสื่อมเสีย
3.  โทษต่อสังคม  เกิดปัญหาทางด้านอาชญากรรม  สูญเสียแรงงาน  สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการปราบปรามและการบำบัดรักษา
4.  โทษต่อประเทศไทย  ทำลายเศรษฐกิจของชาติ
โทษของยาเสพติด
โทษเนื่องจากการเสพสิ่งเสพติดแบ่งออกได้ ดังนี้
1.  โทษต่อร่างกาย  สิ่งเสพติดทำลายทั้งร่างกายและจิตใจ  เช่น  ทำให้สมองถูกทำลาย  ความจำเสื่อม  ดวงตาพร่ามั่ว  น้ำหนักลด  ร่างกายซูบผอม  ตาแห้ง  เหม่อลอย ริมฝีปากเขียวคล้ำ  เครียด  เป็นต้น
2.  โทษต่อผู้ใกล้ชิด  ทำลายความหวังของพ่อแม่และทุกคนในครอบครัว  ทำให้วงศ์ตระกูลเสื่อมเสีย
3.  โทษต่อสังคม  เกิดปัญหาทางด้านอาชญากรรม  สูญเสียแรงงาน  สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการปราบปรามและการบำบัดรักษา
4.  โทษต่อประเทศไทย  ทำลายเศรษฐกิจของชาติ


แหล่งที่มา : หนังสือเรียนสาระทักษะการดำเนินชีวิต รายวิชา สุขศึกษา พลศึกษา ทช31002 ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2554 หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2554สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ

1 ความคิดเห็น: