About

ข้อมูลพื้นฐาน กศน.อำเภอโพทะเล


 ข้อมูลพื้นฐาน  

กศน.อำเภอโพทะเล

ประวัติความเป็นมาของสถานศึกษา
        ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดพิจิตรได้แต่งตั้งอาจารย์ในศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดพิจิตร เข้ามาทำหน้าที่ผู้ประสานงานการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอโพทะเล  ตั้งแต่ปี  พ.ศ. 2530 -2536  เพื่อทำหน้าที่ประสานงานและจัดการศึกษานอกโรงเรียนในระดับอำเภอ โดยมีผู้ประสานระดับอำเภอหมุนเวียนสับเปลี่ยนกันจนถึงปี  พ.ศ.  2536  จำนวน  6  คน  และในปีงบประมาณ  2537  กรมการศึกษานอกโรงเรียนได้จัดตั้งศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนตั้งแต่ปี  พ.ศ. 2537  เป็นต้นมา โดยสำนักงานอยู่ที่ห้องสมุดประชาชนอำเภอโพทะเลหลังเก่า ซึ่งห้องสมุดประชาชนหลังใหม่ได้แยกออกไปเมื่อปี  พ.ศ.2540ใน พ.ศ. 2538 – 2539 ได้เกิดอุทกภัยติดต่อกัน  2 ครั้ง ทำให้อาคารวัสดุครุภัณฑ์เสียหายเป็นจำนวนมากจึงได้ปรับปรุงอาคารยกพื้นให้สูงขึ้นสร้างเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กโดยได้รับเงินบริจาคจากผู้นำหมู่บ้าน และศิษย์เก่า  กศน. เป็นค่าก่อสร้างและในปีงบประมาณ  2545  ได้ปรับปรุงภายในอาคารเรียนโดยแบ่งเป็นห้องเรียนคอมพิวเตอร์ และห้องปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนและปรับปรุงภายในสำนักงานตามเกณฑ์  5 ส  ตามนโยบายของสำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอโพทะเล 
ที่ตั้งสถานศึกษา  หมู่ที่  3  ตำบลโพทะเล    อำเภอโพทะเล    จังหวัดพิจิตร  66130  
โทรศัพท์  056 – 681202   โทรสาร  056- 681388
ปรัชญา “ส่งเสริมการศึกษา  พัฒนาสู่ความพอเพียง”
อัตลักษณ์  “อยู่อย่างพอเพียง”
เอกลักษณ์ “ คุณธรรมนำความรู้ สู่ความพอเพียง”
วิสัยทัศน์ “ คนโพทะเลได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานนอกระบบ การศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ ส่งเสริมแหล่งเรียนรู้ร่วมกับภาคีเครือข่ายเพื่อให้เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้ที่มีคุณภาพอย่างต่อเนื่องและทั่วถึงตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”
พันธกิจ
     1. จัดและส่งเสริมการศึกษานอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัยให้มีคุณภาพอย่างต่อเนื่อง
     2.ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
     3. ส่งเสริมให้ชุมชนมีแหล่งเรียนรู้ที่มีคุณภาพเพื่อให้เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้อย่างทั่วถึง
     4.จัดและส่งเสริมการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพอย่างมีคุณภาพและทั่วถึง
เป้าประสงค์และตัวชี้วัดความสำเร็จ
     1. ประชาชนอำเภอโพทะเลได้รับโอกาสทางการศึกษาอย่างทั่วถึง
     2. สถานศึกษานำเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาและเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอย่างทั่วถึง
     3. ชุมชนเป็นเครือข่ายเพื่อส่งเสริมสนับสนุนแหล่งเรียนรู้ที่มีคุณภาพเพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องและทั่วถึง
     4 ภาคีเครือข่ายเข้ามาร่วมดำเนินการจัด การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย


0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น